อัปเดตข้อมูลภาษีที่ดินกทม.ปี 2566 คนซื้อขายที่ดินต้องรู้เลย

 

                      สำหรับคนที่สนใจในเรื่องของการซื้อขายที่ดิน ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ซื้อหรือผู้ขายก็ตาม สิ่งหนึ่งที่คุณต้องให้ความสำคัญและมองข้ามไปไม่ได้เลยก็คือ “ภาษีที่ดิน” ซึ่งเป็นภาษีที่จะเก็บจากผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เนื่องจากช่วงสถานการณ์โควิดแพร่ระบาดในระยะที่ผ่านมา ภาครัฐต้องการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระประชาชน จึงมีนโยบายเปลี่ยนแปลงอัตราการเก็บภาษีที่ดิน มาในปี 2566 นี้อัตราภาษีที่ดินมีการปรับไปอย่างไร มีการปรับลดลงบ้างหรือไม่ โดยเฉพาะภาษีที่ดินใน กทม. มาอัปเดตกันเลย

                      ภาษีที่ดิน กทม.ปี 2566 มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง

 

                     ในช่วงปี 2563 – 2564 ที่ผ่านมาภาครัฐได้มีนโยบายปรับลดอัตราภาษีที่ดินเพื่อช่วยพี่น้องประชาชนและเป็นสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด โดยมีประกาศลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% นั่นหมายความว่าผู้ที่มีเงื่อนไขเข้าเกณฑ์ส่วนนี้ก็จะจ่ายภาษีที่ดินเพียง 10% ของอัตราภาษีที่จัดเก็บเท่านั้น ซึ่งคนที่ทำการซื้อขายที่ดินในกทม.ก็น่าจะทราบกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ซึ่งในเวลาต่อมาภาครัฐและกระทรวงการคลังได้มีการมีการแจ้งให้ทราบอีกครั้งว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปีภาษี 2565 – 2566 นั้นจะไม่มีการลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลง 90% เหมือนปี 2563 – 2564 ซึ่งแปลว่าภาครัฐจะกลับมาเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราเดิม คือ 100% เต็มตามอัตราการเรียกเก็บที่ดินแต่ละประเภทเช่นเดิมนั่นเอง และภาษีที่ดินใน กทม.นั้นก็มีการแยกออกไปอีกหลายประเภท อัตราการเรียกเก็บภาษีก็จะแตกต่างกันไป โดยคร่าว ๆ แล้วก็คือ

  • ภาษีที่ดินเกษตรกรรม: อัตราการเก็บภาษีจะเริ่มตั้งแต่ 0.01 - 0.1%
  • ภาษีที่อยู่อาศัย: อัตราการเก็บภาษีจะเริ่มตั้งแต่ 0.02 - 0.1%
  • ภาษีที่ดินอื่น ๆ(ที่ดินเพื่อการพาณิชย์และอุตสาหกรรม): อัตราการเก็บภาษีจะเริ่มตั้งแต่ 0.3 - 0.7 %
  • ภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า: อัตราการเก็บภาษีจะเริ่มตั้งแต่ 0.3 - 0.7 % บางกรณีก็อาจจะอยู่ที่ 0.3 - 1.0 %

                   ภาครัฐแนะที่ดินรกร้างให้รีบนำมาทำประโยชน์

                 คนที่มีที่ดินติดริมถนน ส่วนใหญ่ก็มักจะมีการฝากขายที่ดิน เพื่อให้นักพัฒนาที่ดินนำไปใช้ประโยชน์พัฒนาต่อเป็นอาคารสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งก็จะนิยมซื้อขายกันผ่านนายหน้าอสังหา ตรงนี้ก็ไม่เป็นปัญหาใด ๆ ก็เสียภาษีกันตามอัตราที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่หลายคนอาจมีที่ดินในกทม.แต่เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า ก็มักจะกังวลใจเพราะอัตราการเก็บภาษีที่ดินรกร้างนั้นก็ถือว่าไม่น้อย บางกรณีอาจจะเสียภาษีที่ 1.0% เลยทีเดียว ตรงนี้ภาครัฐจึงให้คำแนะนำกับผู้ที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่าว่า ผู้ครอบครองควรนำที่ดินรกร้างนี้มาทำประโยชน์ จะได้ไม่ต้องเสียภาษีแพง หรือ ถ้าจะให้ดีแนะนำว่าให้มอบที่ดินรกร้างนี้ให้กับทาง กทม.เพื่อให้ทางกทม.นำไปใช้ประโยชน์ พัฒนาเป็นสวนสาธารณะ ลานกีฬา หากมอบที่ดินให้กทม.ใช้ไม่น้อยกว่า 7 ปี ผู้เป็นเจ้าของที่ดินรกร้างนี้ก็จะได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินด้วย

 

                 นี่คือ ข้อมูลภาษีที่ดินกทม.ปี 2566 หากคุณเป็นคนที่มีที่ดินหรือเป็นคนที่ซื้อขายที่ดินในกทม. ก็ควรรู้เอาไว้ไม่ว่าจะครอบครอง ซื้อขายจะได้วางแผนเรื่องการจ่ายภาษีที่ดินได้อย่างถูกต้องนั่นเอง

 

โดย : เอ็กซ์ตร้าโฮมเรียลเอสเตท

 www.extrahomerealestate.com